ภาพต่อไปนี้ได้มาจาก The Real Hustle: ปีที่ 8 ตอนที่ 2 โดยในยุคนี้ การที่ใครจะมาถือแตงโมมูลค่าสูงๆเดินไปเดินมามันคงแทบหาไม่ได้ ... แต่ถ้าเกิดว่าเป็นแจกันแก้วมูลค่าสูงๆ ใส่กล่อง ห่อกระดาษอย่างดี และเดินไปเดินมาในย่านที่มีห้างสรรพสินค้าที่ขายของแพงๆอยู่ เรื่องนี้ก็ค่อยน่าเชื่อถือมากขึ้นหน่อย
ปัจจัยที่ทำให้กลโกงนี้ประสบผลสำเร็จ
- วิธีนี้อาศัย "ความมีจิตใจดี" ของคน คนเราพร้อมที่จะแสดงความสงสารต่อผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยากอยู่แล้ว ยิ่งการตกทุกข์ได้ยากนั่นมาจากฝีมือตัวเอง ยิ่งพร้อมที่จะแสดงออกเพื่อรับผิดชอบสิ่งที่กระทำ
- การเลือกสถานที่ในการที่จะต้มตุ๋นคน เลือกสถานที่ที่มีร้านค้าขายของแพงๆอยู่เยอะๆ จะทำให้เหยื่อเชื่อได้ว่าสินค้าที่อยู่ในกล่องมีมูลค่าสูง และยังมีอีกเหตุผลนึงด้วยคือ เหยื่อซึ่งเป็นคนที่เดินอยู่ย่านของแพงนี้ จะย่อมมีเงินในกระเป๋าสูงด้วย พร้อมที่จะจ่ายให้แสดงความรับผิดชอบ
- การพูดสร้างเรื่องให้ฟังดูน่าสงสารยิ่งขึ้น ถ้าอ้างว่าจะซื้อแจกันนี้ไปให้ญาติผู้ใหญ่ เจ้านาย ทำให้รู้สึกว่าของชิ้นนี้มีมูลค่าสูงจริงๆ บวกกับการต่อท้ายเรื่องด้วยเงื่อนไขเวลาที่ว่า จำเป็นต้องเอาไปให้เย็นนี้หรือพรุ่งนี้เช้า แล้วไม่มีเวลาจะไปหาซื้ออีกแล้ว จะทำให้เหยื่อรู้สึกว่า ตัวเองเป็นฝ่ายผิดมากขึ้น
- จิตใจที่ไม่ไหวเอน ต้องมีความมั่นใจว่าเหยื่อเป็นฝ่ายผิดเต็มๆ หรืออย่างน้อยก็ผิดคนละครึ่ง และต้องกล้าพูดกล้าเถียงเพื่อให้อีกฝ่ายจ่ายค่าชดใช้ให้ได้ ถึงแม้เหยื่อจะเดินหนี ก็จะต้องเดินไล่ตามให้ได้ ถึงไหนถึงกัน
ภาพเหตุการณ์คร่าวๆในกลโกงนี้
เริ่มต้นจากนักต้มตุ๋นยืนถือกล่องที่อ้างว่าเป็นแจกันแก้ว(แต่ความจริงมีแค่เศษกระจกแตกเยอะๆข้างใน) ยืนอยู่ในย่านที่มีคนพลุกพล่านและมีร้านขายของราคาแพงอยู่มาก และทำท่าทางไม่ได้สนใจเหยื่อ(ชายเสื้อดำ) ที่เดินผ่านมา
เมื่อสบจังหวะ ก็จะใช้วิธีหมุนตัวเพื่อให้ชนกับเหยื่อ(ชายเสื้อดำ) จนทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นกับกล่องของขวัญที่เธอถือมา ร่วงตกไปสู่พื้น พร้อมทั้งเสียงแก้วแตกแหลกละเอียดอยู่ภายในกล่อง
นักต้มตุ๋น(หญิง)จะทำตัวน่าสงสาร และนำเรื่องที่ปั้นเอาไว้มาพูดเพื่อให้ตัวเองดูน่าสงสารยิ่งขึ้น นอกจากเหยื่อจะรู้สึกสงสารเธอแล้ว ยังรู้สึกผิดที่ตัวเองชน และทำข้าวของคนอื่นเสียหายด้วย และยังเพิ่มด้วยแรงกดดันจากผู้คนรอบข้างที่เห็นเหตุการณ์เข้าไปอีก เหยื่อจะต้องยื่นมือช่วยเหลือแน่นอน
เป็นไปตามคาด เหยื่อจะเริ่มถามราคาของที่เสียหายไป นี่เป็นสัญญาณที่ดีที่จะรู้ว่าเหยื่อจะช่วยรับผิดชอบในสิ่งที่เสียหายไปนี้
โดย ณ จุดนี้ ถ้านักต้มตุ๋นบอกราคาที่ค่อนข้างแพงเกินไป เหยื่ออาจจะเปลี่ยนใจไม่ยอมช่วยจ่ายให้ก็ได้ ดังนั้นเธอจะมีวิธีในการโน้มน้าวให้เหยื่อจ่ายเงินอยู่ได้ 2 ทางคือ
- ต่อรองกันกับเหยื่อ อาจจะยอมรับผิดคนละครึ่ง แล้วให้เหยื่อจ่ายเงินแค่ครึ่งเดียว หรือเท่าที่เหยื่อมีอยู่ในกระเป๋าตังค์ก็ได้ ยังไงนักต้มตุ๋นก็คุ้มอยู่แล้วเพราะราคาเศษแก้วแตกๆมันไม่ได้มีราคาอะไรเลย
- ใช้วิธีขอยืมเงิน โดยจะอ้างว่าจะรับผิดชอบทั้งหมดเอง แต่เนื่องจากตัวเองไม่มีเงินติดตัวเลย เพราะเพิ่งซื้อของชิ้นนี้ไปหมด ก็จะขอยืมเงินเหยื่อเพื่อมาซื้อของชิ้นนี้ โดยสัญญาว่าจะคืนให้ในภายหลัง พร้อมทั้งอาจจะจดชื่อ ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ ของเหยื่อไว้ด้วย เพื่อให้ดูสมจริงมากยิ่งขึ้น
สุดท้ายเธอก็ใช้วิธีบอกว่าจะคืนเงินให้ทีหลัง พร้อมทั้งจดชื่อและเบอร์โทรลงในมือถือด้วย และสัญญาเป็นมั่นเป็นเหมาะว่าจะคืนให้ .... ซึ่ง แน่นอนอยู่แล้วว่าไม่มีการคืนเงินเกิดขึ้นแน่นอน
หลังจากที่เหยื่อเดินจากไปแล้ว นักต้มตุ๋นก็ยังสามารถใช้กล่องใบนี้หลอกเอาเงินคนอื่นๆต่อไปได้อีกต่างหาก
วิธีป้องกันตัวเพื่อไม่ให้ถูกหลอกในกลโกงนี้
- .....................คิดไม่ออกเลยเหมือนกัน.................. เพราะ..
- คนชนก็เราเอง
- คนเห็นเหตุการณ์ก็มากมาย
- ของก็แตกจริงๆ ถึงแม้ไม่เปิดกล่องออกดูก็รู้ว่ามันแตกแน่ๆ
- จะเช็คว่าของมันแตกอยู่แล้วก่อนชน ก็เช็คไม่ได้
- ด้วยเนื้อความน่าสงสาร ไม่มีทางเลยที่จะหนีความรับผิดชอบตัวเองไปได้
- ที่น่าจะทำได้ก็คือ ดูว่าราคากับของมันสมเหตุสมผลมั๊ย ควรจะจ่ายเท่าที่มันสมเหตุสมผล
- ถ้าทำได้อย่าจ่ายเป็นเงินสด ก็ควรจะไปที่ร้านที่เขาซื้อของชิ้นนั้นมา ดูราคาว่ามันใช่ที่เขาว่ามั๊ยและจ่ายเงินให้เพื่อซื้อสินค้านั้นทดแทน
- ตรงนี้จะสามารถใช้เจ้าของร้านเป็นพยานได้ด้วยว่า คนๆนั้นเคยมาซื้อของที่ร้านนี้จริง และของที่ซื้อไปไม่ใช่แตกอยู่แล้ว
- แต่.... ใครจะไปเสียเวลาที่จะทำแบบนั้น... ทำให้กลโกงนี้ยิ่งป้องกันตัวยากไปใหญ่
No comments:
Post a Comment